เคยได้ยินกันหรือไม่ เจอ(สารก่อแพ้)บ่อย ๆ เดี๋ยวก็ชินเอง แต่แท้จริงแล้วร่างกายสามารถเคยชินกับสารก่อแพ้ได้หรือไม่?
สารก่อแพ้ คือ สิ่งแปลกปลอมที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ เช่น สารเคมี ไรฝุ่น พืช ละอองเกสร ขนสัตว์ เป็นต้น โดยจะเข้าไปทำให้ร่างกายมีปฏิกิริยาผิดปกติ
โดยสารก่อแพ้จะแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามวิธีการเข้าสู่ร่างกาย
ทางระบบหายใจ
มักจะแพร่กระจายในอากาศ เช่น ไรฝุ่น ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ น้ำหอม
ทางการสัมผัส
มักอยู่ในพืชที่มีพิษ โลหะ พลาสติก ยาง สีย้อม
ทางการดูดซึมเข้ากระแสเลือด
เช่น ยาฉีด แมลงสัตว์กัดต่อย
ทางการบริโภค
เช่น นมสด โปรตีน อาหารทะเล ถั่ว ข้าวสาลี เบียร์ เครื่องเทศ
ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับสารก่อแพ้เข้าไป แอนติบอดีของร่างกายจะไปกระตุ้นเม็ดเลือดขาวชนิดมาสต์เซลล์ตามอวัยวะต่าง ๆ ให้ปล่อยสารเคมีอีกหลายชนิด รวมถึง ฮิสตามีน ให้ออกมา และฮิสตามีนคือสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการบวมแดง นั่นเอง
และเมื่อผู้ป่วยสัมผัสกับสารก่อแพ้ตัวเดิมอีกครั้ง ร่างกายก็จะเกิดปฏิกิริยาแพ้แทบจะในทันที โดยการปล่อยฮิสตามีนออกมา อาการที่แพ้ก็จะแสดงออกได้เร็วขึ้น อีกทั้งยังทวีความรุนแรงขึ้นไปอีก
ซึ่งการแพ้ครั้งที่สอง จะรวดเร็วและรุนแรงกว่าครั้งแรก ส่วนการแพ้ในครั้งที่สาม ก็จะรวดเร็วและร้ายแรงกว่าครั้งที่สอง
ดังนั้น การรับสารก่อแพ้บ่อย ๆ จึงไม่สามารถช่วยให้ร่างกายเคยชินได้