ระดับของการรักษาโรค ตามคติของการแพทย์แผนไทย

ระดับของการรักษาโรค ตามคติของการแพทย์แผนไทย

แพทย์แผนไทยแบบดั้งเดิมเป็นการใช้สมุนไพรหลายชนิดมาประกอบเป็นตำรับยา เพื่อรักษาอาการไปในแต่ระดับ และป้องกันผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์

โดยการแพทย์แผนไทยได้วางลำดับชั้นของการรักษาทุกโรคและทุกอาการไว้อย่างน้อย 3 ระดับ คือ

  • ระดับปฐมภูมิ คือ รักษาผลของโรคที่เกิดขึ้น
  • ระดับทุติยภูมิ คือ รักษาอวัยวะที่เป็นเหตุแห่งโรค
  • ระดับตติยภูมิ คือ รักษาสาเหตุความผิดปกติของอวัยวะก่อโรค

ยกตัวอย่างการรักษาโรคเบาหวาน

ระดับปฐมภูมิ คือ รักษาผลของโรคที่เกิดขึ้น
จะใช้ ตำรับเบาหวาน เพื่อลดระดับน้ำตาลอย่างค่อยเป็นค่อยไป และใช้ ตำรับรากขาว เพื่อดูแลไต อาการบวมน้ำ ปรับความดันให้เข้าสู่ภาวะสมดุล

ระดับทุติยภูมิ คือ รักษาอวัยวะที่เป็นเหตุแห่งโรค
ใช้ยาตำรับ ล้อมตับ-ดับพิษ มุ่งตรงไปที่การรักษา และฟื้นฟูตับอ่อนที่เสื่อม ให้คืนกลับสู่ภาวะสมบูรณ์โดยเร็วที่สุด

ระดับตติยภูมิ คือ รักษาสาเหตุความผิดปกติของอวัยวะก่อโรค
คือการปรับลดพฤติกรรมซึ่งเป็นสาเหตุการเสื่อมของตับอ่อน ทำให้ผลิตอินซูลินไม่พอ เช่น

  • ลดอาหารประเภทแป้งให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อลดภาระการทำงานของตับอ่อน
  • รับประทานอาหารให้ตรงเวลา เพื่อให้ตับอ่อนมีช่วงเวลาทำงาน และช่วงเวลาพักฟื้น
  • ออกกำลังกาย เพื่อเผาผลาญน้ำตาลส่วนเกินในเลือดได้โดยตรง
  • เข้านอนตั้งแต่หัวค่ำ เพื่อให้ตับอ่อนได้รับการซ่อมแซม และฟื้นฟูร่างกายโดยรวม

ปัจจุบัน เรามุ่งเน้นการรักษาไปที่ขั้นปฐมภูมิแต่เพียงอย่างเดียว จนหลงลืมภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ทำให้ละเลยการรักษาอวัยวะก่อโรค และหยุดเหตุแห่งโรคเพื่อการรักษาตั้งแต่สาเหตุหรือต้นตอ

Scroll to Top