ปวดท้องน้อย คืออาการปวดท้องบริเวณส่วนล่างตั้งแต่ใต้สะดือลงไป ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่อาการปวดท้องน้อยมักเกิดใน 4 ระบบภายในร่างกาย ดังนี้
โรคในระบบสืบพันธุ์ – มีอาการปวดเกร็งขณะมีประจำเดือน และมากกว่าปกติ ปวดร้าวไปจนถึงหลัง ก้น และต้นขา
- เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่
- เนื้องอกมดลูก
- ถุงน้ำรังไข่
- ช็อกโกแลตซีสต์
โรคในระบบทางเดินปัสสาวะ – มีอาการปวดบิดเกร็งตรงบริเวณท้องน้อยข้างใดข้างหนึ่ง และมักปวดร้าวลงมาที่ช่องคลอดข้างเดียวกัน และเมื่อกดจะไม่มีอาการเจ็บเหมือนปวดประจำเดือน
- นิ่วท่อไต
- กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
- กรวยไตอักเสบ
โรคในระบบย่อยอาหาร – มักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ท้องเสียร่วมกับอาการปวดท้องน้อย
- ลำไส้อักเสบ
- ลำไส้แปรปรวน
- พังผืดเกาะลำไส้
- ไส้ติ่งอักเสบ
โรคในระบบกล้ามเนื้อ – มักปวดบริเวณหน้าท้อง ท้องน้อย ลามไปจนถึงหัวหน่าว
- กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานทำงานผิดปกติ
- กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอักเสบ
- ข้อต่อกระดูกอุ้งเชิงกรานอักเสบ
วิธีป้องกันอาการปวดท้องน้อย
- เลี่ยงกิจกรรมที่ต้องยืนหรือเดินนาน ๆ
- ทานอาหารที่มีกากใยสูงเพื่อช่วยให้ขับถ่าย
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และข้อต่อ
- ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
หากใครที่มีอาการปวดท้องน้อยบ่อยหรือเรื้อรัง ก็ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ไม่ควรซื้อยาทานเองเพราะอาจทำให้การรักษาไม่ตรงจุดได้