การนอนละเมอ ปัญหาที่ไม่ควรละเลย

การนอนละเมอ คือความผิดปกติในการนอนรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจะมีการขยับตัว พูด เดินหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยที่ไม่รู้สึกตัว ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายจากการกระทำเหล่านี้ได้ และการละเมอถือเป็นหนึ่งกลุ่มของโรคลมชักด้วยเช่นกัน

การนอนละเมอ คือความผิดปกติในการนอนรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจะมีการขยับตัว พูด เดินหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยที่ไม่รู้สึกตัว ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายจากการกระทำเหล่านี้ได้ และการละเมอถือเป็นหนึ่งกลุ่มของโรคลมชักด้วยเช่นกัน

ประเภทของอาการละเมอ

  • การสะดุ้งตื่น (confusional arousal)
    เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด โดยจะสะดุ้งในกลางดึก มึนงง สับสน อาจมีอาการนานถึงครึ่งชั่วโมง
  • ละเมอเดิน (sleepwalking)
    นอกจากละเมอเดิน อาจมีอาการอื่นร่วมด้วยเช่น พูดคุย เดินออกไปนอกบ้าน โดยส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น
  • ละเมอกินอาหาร (sleep-related eating disorder)
    เป็นอาการที่พบได้ไม่บ่อย และอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำหนักเพิ่มมากขึ้น พบได้บ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
  • ละเมอกรีดร้อง (sleep terror)
    ผู้ที่ละเมอจะกรีดร้องขึ้นมาขณะหลับ อาจมีอาการหอบเหนื่อย ใจสั่น เหงื่อแตกร่วมด้วย เมื่อตื่นขึ้นจะจำเหตุการณ์ไม่ได้
  • ฝันร้าย (nightmare)
    อาจทำให้เกิดภาวะความกลัวอย่างรุนแรง จนนำไปสู่โรคร้ายต่าง ๆ ได้ เช่น โรควิตกกังวล โรคไบโพลาร์
  • ละเมอพูด (sleep talking)
    มีอาการพึมพำหรือตะโกนออกมาขณะหลับ มักเป็นประโยคที่เป็นคำแปลก ๆ หรือไม่ได้ใจความ อาจเกิดได้จากความเครียดสะสม

สาเหตุของการละเมอเกิดได้จากสิ่งกระตุ้นภายใน และภายนอก

  • สิ่งกระตุ้นภายใน – ความเครียด ความเหนื่อยล้า การพักผ่อนน้อย รวมถึงกรรมพันธุ์ก็มีส่วน
  • สิ่งกระตุ้นภายนอก – บรรยากาศห้องนอน สิ่งเร้าก่อนนอน เช่น หนังสยองขวัญหรือเสียงเพลงที่ดังเกินไป เหตุการณ์ฝังใจ เป็นต้น

วิธีป้องกันการนอนละเมอ

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และพยามนอนในเวลาเดิม
  • ทำตัวผ่อนคลายก่อนนอน เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลงเบา ๆ
  • นอนในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีความมืด และไม่มีเสียงรบกวน
  • งดเครื่องดื่มคาเฟอีนก่อนเข้านอน

หากอาการละเมอมีความรุนแรง และต่อเนื่องผิดปกติ ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ เพื่อคุณภาพการนอนที่ดีขึ้น

Scroll to Top